วันอังคาร, กันยายน 15, 2552

ทวีปออสเตรเลีย

ทวีปออสเตรเลีย – นิวซีแลนด์


ทวีปออสเตรเลีย เป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุด และมีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่เป็นทวีปหลังสุดที่มนุษย์เข้าไปตั้งถิ่นฐานและรู้จักแพร่หลาย ประกอบด้วย ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศปาปัวนิวกีนี ชื่อ Australia มาจากคำในภาษาละติน ว่า terra australis incognita หมายถึง ดินแดน
ทวีปออสเตรเลียอยู่ทางซีกโลกใต้และบางคนถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ ดินแดนมหาสมุทร หรือ โอเชียเนีย (Oceania) หมายถึง ดินแดนที่เป็นหมู่เกาะต่างๆ ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ฟิจิ นิวแคลีโดเนีย วานูอาตู ซามัวตะวันตก หมู่เกาะโซโลมอน ฯลฯ ประชากรของประเทศนิวซีแลนด์มีประมาณ 4,173,460 คน (กรกฎาคม 2008 est.)


1. ลักษณะทางกายภาพของทวีปออสเตรเลีย – นิวซีแลนด์
1. ลักษณะทางกายภาพของทวีปออสเตรเลีย
1.1 ที่ตั้ง
อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย และเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในซีกโลกใต้ ในมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างละติจูดที่ 10 องศา 41 ลิปดาใต้ ถึง 43 องศา 39 ลิปดาใต้ และลองจิจูด 113 องศา 9 ลิปดาตะวันออก ถึง 153 องศา 39 ลิปดาตะวันออก
ทวีปออสเตรเลีย ประกอบด้วย
- ประเทศออสเตรเลีย (Commonwealth of Australia)
- ประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand)
ดินแดน “โอเชียเนีย” (Oceania) ประกอบด้วยหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่ ประเทศหมู่เกาะไมโครนีเชีย หมู่เกาะเมลานีเชีย หมู่เกาะโพลีนีเชีย ออสตราเลเชีย (Australasia) คือชื่อเรียกประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์รวมกัน

1.2 ขนาด
ออสเตรเลียเป็นประเทศเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดใหญ่กว่าเกาะกรีนแลนด์ถึง 3.5 เท่า มีรูปร่างคล้ายมงกุฎ มีความยาวจากตะวันออกถึงตะวันตก ประมาณ 3,900 กิโลเมตร มีความกว้างจากเหนือไปใต้ประมาณ 3,200 กิโลเมตร มีพื้นที่ 7,686,848 ตางรางกิโลเมตร ประกอบด้วยรัฐต่างๆ 6 รัฐ กับเขตการปกครองอิสระ อีก 2 เขต เรียกว่า เทอร์ริทอรี (Territory)

1. รัฐควีนส์แลนด์ เมืองหลวง เมืองบริสเบน
2. รัฐนิวเซาท์เวลส์ เมืองหลวง เมืองซิดนีย์
3. รัฐวิกตอเรีย เมืองหลวง เมืองเมลเบิร์น
4. รัฐเซาท์ออสเตรเลีย เมืองหลวง เมืองแอดิเลด
5. รัฐเวสท์เทิร์นออสเตรเลีย เมืองหลวง เมืองเพิร์ท
6. รัฐแทสเมเนีย เมืองหลวง เมืองโฮบาร์ด เป็นเขตปกครองอิสระ 2 เขต
7. รัฐเนอร์เทิร์นเทอร์ริทอรี เมืองหลวง เมืองดาร์วิน เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน มีประชากรอาศัยอยู่น้อย จัดให้เป็นที่อยู่ของคนพื้นเมืองดั้งเดิม เมืองหลวง เมืองดาร์วิน
8. รัฐออสเตรเลียแคพิทอลเทอร์ริทอรี เมืองหลวง แคนเบอร์รา เป็นเขตพิเศษไม่อยู่ในรัฐใด

1.3 อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ทะเลติมอร์ ในมหาสมุทรอินเดีย และทะเลอาราฟูราในมหาสมุทรแปซิฟิก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ทะเลคอรัลและทะเลแทสมันในมหาสมุทรแปซิฟิก

ทิศใต้ ติดต่อกับ มหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ มหาสมุทรอินเดีย

2. ลักษณะภูมิประเทศของทวีปออสเตรเลีย – นิวซีแลนด์
2.1 ลักษณะภูมิประเทศของประเทศออสเตรเลีย
1. เขตที่ราบชายฝั่งตะวันออก
เขตที่ราบชายฝั่งตะวันออก ได้แก่ พื้นที่ระหว่าง 80 – 120 กิโลเมตร โดยนับจากริมฝั่งทะเลเข้ามาภายในทวีป
2. เขตเทือกเขาภาคตะวันออก
เขตที่สูงทางภาคตะวันออก (Eastern Highland) เป็นเขตที่มีเทือกเขาสูงวางตัวจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ขนานกับชายฝั่งตะวันออก ตั้งแต่แหลมยอร์กไปจนถึงช่องแคบบาสส์ เรียกว่า เทือกเขาเกรตดิไวดิง (Great Dividing Range) เทือกเขาแอลป์ออสเตรเลียมียอดเขาสูงสุด คือ ยอดเขาคอสซิอัสโก (Kosciusko) สูงประมาณ 2,198 เมตร เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเมอร์รีย์-ดาร์ลิง ทางชายฝั่งตะวันออกของรัฐควีนส์แลนด์มีแนวปะการังที่ยาวที่สุดในโลก ที่วางตัวขนานกับชายฝั่งเรียกว่า เกรดแบริเออร์รีริฟ (Great Barrier Reef) วางตัวขนานและห่างจากชายฝั่งประมาณ 40 - 200 กิโลเมตร และยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร
3. เขตที่ราบต่ำภาคกลาง
เขตที่ราบภาคกลาง (Central Plain) มีอาณาบริเวณตั้งแต่อ่าวคาร์เปนตาเรียนทางตอนเหนือ ลงมาถึงอ่าวสเปนเซอร์และเกรตออสเตรเลียนไบต์ มีลักษณะเป็นที่ราบต่ำ มีพื้นที่ ประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศ และเป็นแหล่งที่มีน้ำบาดาลมากที่สุดของประเทศ แบ่งออกเป็น 4 เขต

3.1 เขตที่ราบอ่าวเกรตออสเตรเลียไบต์ (Great Australina Bight Plan) เป็นที่ราบที่มีอากาศแห้งแล้งกันดาร เรียกว่า ที่ราบนัลลาบอร์ (Nullabor Plain) ภาษาพื้นเมือง แปลว่า ที่ราบที่ไม่มีต้นไม้อยู่เลย
3.2 ที่ราบลุ่มแม่น้ำเมอร์รีย์และดาร์ลิง (Murray and Dariong Basin) มีแม่น้ำดาร์ลิง เป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดของออสเตรเลีย ประมาณ 3,700 กิโลเมตรและแม่น้ำเมอร์รีย์ ไหลลงสู่อ่าวเอนเคาน์เตอร์ และเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศ
3.3 ที่ราบรอบทะเลสาบแอร์ (Lake Ayre Basin) เป็นเขตพื้นที่ราบรอบทะเลแอร์ ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดในทวีปออสเตรเลีย และเป็นที่ราบแล้งแห้งเป็นทะเลทราย เช่น ทะเลทรายซิมป์สันและทะเลทรายสจ๊วด
3.4 ที่ราบรอบอ่าวคาร์เปนตาเรีย (Gulf of Carpentaria Plain) เป็นที่ราบชายฝั่งแคบๆ ทางตอนเหนือของประเทศ

4. เขตที่ราบสูงภาคตะวันตก
เขตที่ราบสูงภาคตะวันตก (Western Plateau) เป็นเขตที่สูงภาคตะวันตก ซึ่งมีพื้นที่มากกว่าครึ่งทวีป ประกอบด้วยที่ราบชายฝั่งแคบๆ และที่สูงเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ ลักษณะพื้นที่ทางด้านตะวันตกและลาดเทไปทางตะวันออก ซึ่งเป็นดินแดนภายในทวีป มีเทือกเขาที่สำคัญ เช่น เทือกเขาโรบินสัน เทือกเขาดาร์ลิง เทือกเขาแม็กโนนัลล์ เทือกเขามัสเกรฟ เทือกเขาคิมเบอร์ลย์ นอกจากนี้ยังมีภูมิประเทศที่เป็นเขตทะเลทรายอยู่หลายแห่ง เช่น ทะเลทรายเกรตแซนดี ทะเลทรายกิบสันทะเลทรายเกรตวิกตอเรียประเทศออสเตรเลีย มีฝั่งทะเลค่อนข้างเรียบ ทางตอนเหนือมีอ่าวขนาดใหญ่ คือ อ่าวคาร์เปนตาเรีย
อ่าวโจเซฟโบนาปาร์ต คาบสมุทรเคปยอร์ก อ่าวเกรตออสเตรเลียนไบท์
ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเฉียงเหนือ มีแนวปะการังขนาดใหญ่ที่สุดในโลกชื่อ เกรตแบริเออร์-รีฟ (Great Barrier Reef) พื้นทวีป มีที่ราบกว้างใหญ่ตอนกลาง ด้านตะวันออกและตะวันตก เป็นที่สูง
และทะเลทรายโครงสร้างภูมิประเทศของออสเตรเลีย แบ่งออกได้เป็น 3 เขตใหญ่ๆ คือ

4.1 เขตเทือกเขาสูงทางด้านตะวันออก เรียกว่า เทือกเขาเกรตดิไวดิง (Great Dividing Range) วางขนานตัวกับชายฝั่งทะเลตั้งแต่แหลมยอร์ก ไปจนถึง ช่องแคบบาสส์ มียอดเขาสูงสุดชื่อคอสสิอัสโก
บนทิวเขาออสเตรเลียนแอลป์

4.2 เขตที่ราบสูงภาคตะวันตก เป็นเขตที่มีโครงสร้างเก่าแก่ของทวีป ยกขอบสูงทางด้านตะวันตก ลาดเอียงมาทางทิศตะวันออก มีทิวเขาหลายแนว ได้แก่ ทิวเขาแมกโดนัล ทิวเขามัสเกรฟ ทิวเขาแฮม-เมอร์สเลย์ เขตนี้แห้งแล้ง มีทะลทรายหลายแห่ง
4.3 เขตที่ราบภาคกลาง ประกอบด้วย ที่ราบรอบอ่าวคาร์เปนตาเรีย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ที่ราบรอบทะเลสาบแอร์ ทะเลสาบน้ำเค็มเป็นแอ่งแผ่นดินที่แห้งแล้งมากที่ราบลุ่มแม่น้ำเมอร์เรย์ - ดาร์ลิง เป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญทาง ด้านการชลประทานมากที่สุด มีต้นน้ำจากเทือกเขาเกรตดิไวดิง ที่ราบเขตนี้ อุดมสมบูรณ์ เป็นเขตเกษตรกรรมที่สำคัญ ที่ราบนัลลาเบอร์ ชายฝั่งอ่าวเกรตออสเตรเลียน เป็นที่ราบหินปูน แห้งแล้งมาก

2.2 ลักษณะภูมิประเทศของนิวซีแลนด์

ประเทศนิวซีแลนด์ ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ คือ เกาะเหนือ และเกาะใต้ ช่องแคบระหว่าง 2 เกาะนี้ คือ ช่องแคบคุก

เกาะเหนือ
เกาะเหนือ มีที่ราบอุดมสมบูรณ์บริเวณชายฝั่งรอบๆเกาะ ตอนกลางเป็นที่ราบสูง
1. ที่ราบตอนกลาง มีภูเขาไฟที่สำคัญชื่อ เอกมองต์ (Mount Egmont) มีน้ำพุร้อน สามารถนำพลังงานความร้อนไปใช้ประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เกาะเหนือมีดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
2. ทะเลสาบตอนกลาง มีชื่อว่าเทาโป
3. ที่ราบรอบเกาะที่สมบูรณ์ ที่ราบทารานากิในตอนเหนือ


เกาะใต้
1. เทือกเขาสูงตอนกลางทอดแนวยาวตั้งแต่เหนือถึงใต้ คือ เทือกเขาแอลป์ใต้ บนยอดเขามีหิมะ มียอดเขาสูงหลายยอด และธารน้ำแข็งปกคลุมตลอดทั้งปี ยอดเขาสูงชื่อยอดเขาคุก (สูง 12,349 ฟุต)
2. ธารน้ำแข็งจากเทือกเขาแอลป์ใต้ ทำให้ชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะมีภูมิประเทศเป็นแบบฟยอร์ด มีทะเลสาบและน้ำตก (คล้ายบริเวณยุโรปเหนือ)
3. ที่ราบซึ่งมีขนาดใหญ่ เป็นเขตเกษตรกรรมที่สำคัญด้านตะวันออกของเกาะใต้คือ ที่ราบแคน-เทอร์เบอร์รี

3. ลักษณะทางภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติของทวีปออสเตรเลีย – นิวซีแลนด์
3.1 ลักษณะทางภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติของทวีปออสเตรเลีย
3.1.1 เขตภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ
1. เขตอากาศแบบร้อนชื้นชายฝั่งทะเลหรือเขตภูมิอากาศร้อนชื้น หรือแบบป่าไม้เขตร้อน (Tropical Maritime Climate) ได้แก่ พื้นที่ทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ของรัฐควีนส์แลนด์ มีอุณหภูมิสูงตลอดปี ในฤดูร้อนมีฝนตกชุก ในฤดูหนาวมีอากาศอบอุ่น เพราะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้เขตร้อน

2. เขตอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อนหรือทุ่งหญ้าสะวันนา (Savanna Climate) ได้แก่ พื้นที่ทางตอนเหนือของเส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น มีอากาศร้อนและฝนตกปานกลางในฤดูร้อน และแห้งแล้งในฤดูหนาว ฝนตกใน ฤดูร้อน อุณหภูมิสูงตลอดปี พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าเรียกว่า ทุ่งหญ้าสะวันนา และป่าโปร่ง

3. เขตอากาศแบบกึ่งทะเลทราย (Semi-desert Climate) เป็นเขตเชื่อมต่อระหว่างเขตร้อนชื้นสลับแล้ง กับเขตทะเลทราย ได้รับฝนน้อย ได้แก่ ดินแดนรอบๆ ทะเลทราย ทั้งทางเหนือ ตะวันออกและทางใต้ พืชพรรณเป็นทุ่งหญ้าสั้นๆ กระจายเป็นหย่อมเล็กๆ เรียกว่า ทุ่งหญ้าสเตปป์

4. เขตอากาศแบบทะเลทราย (Desert Climate) ได้แก่ ดินแดนที่อยู่ตอนกลางของประเทศครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 3 ของประเทศ และภาคตะวันตกของประเทศ อุณหภูมิสูง แห้งแล้งมาก มีทะเลทรายหลายแห่งอยู่ต่อเนื่องกัน ได้แก่ ทะเลทรายเกรตแซนดี ทะเลทรายกิบสัน ทะเลทรายเกรตวิกตอเรีย และทะเลทรายซิมป์สัน

5. เขตอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Climate) ได้แก่ บริเวณชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้และชายฝั่งตะวันออกของอ่าวเกรตออสเตรเลียไบต์ บริเวณเมืองเพิร์ธ ชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ และเมืองแอเดเลด ทางตอนใต้ของประเทศ มีอากาศอบอุ่นชุ่มชื้น ในฤดูหนาวและร้อนแห้งแล้งในฤดูร้อน มีฝนตกในฤดูหนาว อากาศอบอุ่น ฤดูร้อนแห้งแล้ง พืชพรรณธรรมชาติคือ ส้ม องุ่น มะกอก


6. เขตอากาศอบอุ่นชื้น (Humid Subtropical Climate) เป็นเขตที่มีอากาศอบอุ่น ฝนตกตลอดปี มีอากาศอบอุ่นฝนตกชุกตลอดปี ได้แก่ บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐควีนส์แลนด์และบางส่วนของรัฐนิวเซาท์เวลส์ พืชพรรณธรรมชาติ ป่าไม้ผลัดใบ

7. เขตอากาศแบบภาคพื้นสมุทรหรืออบอุ่นค่อนข้างหนาว (Cool Temperate Climate) ชายฝั่งตะวันตกเป็นเขตที่อากาศอบอุ่น ฤดูหนาวมีอากาศอบอุ่น ค่อนข้างหนาว มีฝนตกชุกตลอดปี ได้แก่ ชายฝั่งตอนใต้ของนิวเซาท์เวลส์ รัฐวิกตอเรีย และเกาะแทสเมเนีย พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าผสม ระหว่างป่าไม้ผลัดใบกับป่าสน

3.1.2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศ

1. ที่ตั้ง
ประเทศออสเตรเลีย ตั้งอยู่ในเขตละติจูด ที่ 10 องศาใต้ ถึง 40 องศาใต้ จึงมีลักษณะอากาศทั้งแบบเขตร้อน และเขตอบอุ่น ตั้งอยู่ในเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยมีเส้นทรอออฟแคปริคอร์นลากผ่านตอนกลางของประเทศ ทางตอนเหนือมีอากาศร้อน และทางตอนใต้มีอากาศอบอุ่น
2. ทิศทางของลมประจำ
ลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้ พัดจากมหาสมุทรแปซิฟิก พัดเข้าสู่ ชายฝั่งตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย ทำให้เขตนี้มีฝนตกชุกตลอดปี
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ พัดจากทะเลติมอร์ ทะเลอาราฟูรา เข้าสู่ชายฝั่งทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลียในฤดูร้อน ทำให้เขตนี้มีฝนตกชุกในฤดูร้อน และมีอากาศแห้งแล้งในฤดูหนาว
ลมตะวันตกเฉียงใต้ พัดจากมหาสมุทรอินเดีย เข้าสู่ชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศออสเตรเลียในฤดูหนาว ทำให้ชายฝั่งเขตนี้มีฝนตกชุกในฤดูหนาว ฤดูร้อนแห้งแล้ง
3. ระยะห่างจากทะเล
เนื่องจากทวีปออสเตรเลียเป็นประเทศที่กว้างมาก ทำให้ตอนกลางของทวีปไม่ได้รับอิทธิพลจากทะเล จึงมีลักษณะอากาศแห้งแล้งแบบทะเลทรายเป็นบริเวณกว้าง
4. ทิศทางของเทือกเขา
ลักษณะภูมิประเทศ ทางตะวันตก มีที่ราบสูงและภูเขาวางตัวขวางกั้นทิศทางลมและความชื้นจากทะเล ทางตะวันออกมีแนวเทือกเขาเกรตดิไวดิง ทอดแนวขนานไปกับชายฝั่งทะเลด้านชายฝั่งตะวันออก เป็นกำแพงขวางกั้นทิศทางลมและความชื้นจากทะเลทางตะวันออก ทำทำให้ด้านหน้าเขามีฝนตกชุก ด้านหลังเขาแห้งแล้งคือบริเวณตอนกลางประเทศมีอากาศแห้งแล้ง
5. กระแสน้ำในมหาสมุทร
กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตรใต้ ไหลเลียบฝั่งทะเลด้านตะวันออกเฉียงเหนือ
กระแสน้ำอุ่นออสเตรเลียตะวันออก ไหลเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเฉียงใต้
กระแสน้ำเย็นออสเตรเลียตะวันตก ไหลเลียบชายฝั่งด้านตะวันตกของทวีปออสเตรเลีย
กระแสน้ำ มีกระแสน้ำเย็นออสเตรเลียตะวันตก ไหลเลียบทางฝั่งชายตะวันตก ขึ้นไปทางเหนือ ทำให้ชายฝั่งทางตอนเหนือมีอุณหภูมิร้อนลดลง

3.2 ลักษณะภูมิอากาศของนิวซีแลนด์
ลักษณะภูมิอากาศของนิวซีแลนด์ คือ อบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร เนื่องจากประเทศนิวซีแลนด์ตั้งอยู่ในเขตอากาศอบอุ่น และอยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิก ได้รับอิทธิพลของลมประจำตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้มีอุณหภูมิค่อนข้างสม่ำเสมอ อุณหภูมิไม่เกิน 18 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างเย็น ฤดูหนาวไม่หนาวจัดมาก มีฝนตกชุกตลอดปี เหมาะแก่การเกษตรกรรม

4. ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของทวีปออสเตรเลีย – นิวซีแลนด์
4.1 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของออสเตรเลีย ได้แก่
· ป่าไม้ พื้นที่ป่าของทวีปออสเตรเลียอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลแถบภูเขาทางภาคตะวันออกและทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป บริเวณทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีป และเกาะแทสเมเนีย ชนิดของป่าส่วนใหญ่ เป็นป่ายูคาลิปตัส อะเคเชีย วอตเติล พื้นป่าทั้งทวีปคิดเป็นร้อยละ 98.5
· แร่ธาตุ เป็นแหล่งสำรองทรัพยากรแร่ธาตุหลายชนิด เป็นปริมาณที่มาก แร่ธาตุที่สำคัญมีดังนี้ แร่เหล็ก ทวีปออสเตรเลียเป็นประเทศที่ผู้ส่งออกแร่เหล็กรายใหญ่ที่สุดของโลก แหล่งที่พบแร่เหล็กมากที่สุดอยู่ที่เมืองพิลบรา ในรัฐออสเตรเลียตะวันตก เป็นแหล่งแร่คุณภาพสูง ยูเรเนียม พบมากในรัฐ-ควีนสแลนด์ แถบเมืองมารีย์ แคชลีน ฟอสเฟต พบมากทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ ทองคำ ทองแดง เป็นต้น
· ถ่านหิน เป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้ให้กับออสเตรเลียมากที่สุด พบมากในรัฐนิวเซาท์เวลล์และรัฐควีนสแลนด์
· น้ำมันดิบ แหล่งน้ำมันเพื่อการพาณิชย์แห่งแรกของออสเตรเลียที่ขุดพบ คือ บริเวณทางตะวันตกของนครบริสเตน และบริเวณช่องแคบบาสส์
· พลังงาน แหล่งสำคัญของน้ำมันปิโตรเลียม อยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ แหล่งผลิตพลังงานน้ำที่สำคัญ คือบริเวณลุ่มแม่น้ำเมอร์เรย์ - ดาร์ลิง แม่น้ำสโนวี
· สัตว์ป่า หรือสัตว์พื้นเมืองได้แก่ จิงโจ้ สุนัขดิงโก หมีโคอาล่า นกอีมู นกกีวี สุนัขดิงโก้ ตุ่นปากเป็ด
4.2 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของนิวซีแลนด์ ได้แก่
· ทรัพยากรดิน ประเทศนิวซีแลนด์มีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกเกิดจากการทับถมของดินตะกอนภูเขาไฟ ที่ราบทั้งบนเกาะเหนือ และเกาะใต้ เหมาะแก่การเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์
· ทรัพยากรน้ำ ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของนิวซีแลนด์เป็นที่สูง กระแสน้ำในแม่น้ำต่างๆจึงไหลแรง เหมาะแก่การนำไปใช้ประโยชน์ในด้านพลังงาน ประเทศนิวซีแลนด์มีภูเขาไฟที่ยังมีพลัง มีน้ำพุร้อนทั้งชนิดที่เป็นน้ำพุ ธรรมดา และน้ำพุพุ่งขึ้นสูง หรือ กีเซอร์ (Geyser) สามารถต่อท่อไอน้ำจาก น้ำพุร้อนไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
· ทรัพยากรป่าไม้ ประเทศนิวซีแลนด์มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ไม้ที่พบมีทั้งไม้เนื้ออ่อน และไม้เนื้อแข็ง
· ทรัพยากรแร่ธาตุ แร่สำคัญคือ ถ่านหิน และทองคำ

2. ประชากร
2.1 เชื้อชาติ
ทวีปออสเตรเลียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นทวีปที่มีประชากรน้อย และความหนาแน่น ของประชากรก็จำกัดอยู่เฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น เช่น บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ เกาะเหนือและเกาะใต้ ของ นิวซีแลนด์เท่านั้น ไม่ได้แพร่กระจายกันอย่างกว้างขวางเหมือนทวีปอื่นๆ โดยประชากรในภูมิภาคส่วนนี้ของโลก สามารถจำแนกได้ 2 เชื้อชาติ ดังนี้
1.1 ชาวยุโรป ประชากรเกือบทั้งหมดมีเชื้อสายอังกฤษ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ อิตาลี และกรีซ อาศัยอยู่ทางตะวันออก ทางใต้และทางตะวันตกของประเทศและเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เพิ่งอพยพมาในทวีปนี้ เมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา
1.2 ชาวพื้นเมือง เป็นประชากรดั้งเดิมของออสเตรเลีย เรียกว่า อะบอริจินิส หรือ ออสเตรลอยด์ อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ คือ นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ซึ่งดินแดนที่รัฐบาลออสเตรเลียสงวนไว้ให้กับชาวพื้นเมืองชาวพื้นเมือง แบ่งออกเป็นเชื้อสายต่างๆ ได้ 3 เชื้อสาย ต่อไปนี้
1) พวกไมโครเซียน อยู่ในประเทศคิริบาส และนาอูรู
2) พวกเมลานีเซียน อยู่ในปาบัวนิวกินี และหมู่เกาะโชโลมอน
3) พวกโปลินีเซียน อยูในซามัวตะวันตก ตองกา ตูวาลู และนิวซีแลนด์
4) พวกอะบอริจิน ชนพื้นเมืองที่ประกอบอาชีพดั้งเดิม คือ เก็บของป่าและล่าสัตว์ อาศัยอยู่แถบทะเลทรายในทวีปออสเตรเลีย
ประชากรของทวีปออสเตรเลียซึ่งมีอยู่ประมาณ 27 ล้านคน มีชาวยุโรปประมาณร้อยละ 80 อาศัยอยู่ในเขตออสตราเลเซีย ส่วนชาวพื้นเมืองอยู่ประมาณร้อยละ 19 อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะต่างๆ

2.2 ประชากรในประเทศออสเตรเลีย
ชนผิวขาวที่สืบเชื้อสายมาจากชาวอังกฤษ มีความเป็นอยู่เช่นเดียวกับชาวยุโรป
ประชากรที่เป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิม เรียกว่า ชาวอะบอริจิน มีรูปร่างค่อนข้างเตี้ย ผิวคล้ำ ผมหยิก จมูกแบน ริมฝีปากหนา อาศัยอยู่ในรัฐควีนสแลนด์ แทร์ริทอรีเหนือ ออสเตรเลียตะวันตก คนพวกนี้สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี
ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองมากกว่าชนบท แถบชายฝั่งตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป เพราะมีลักษณะอากาศแบบอบอุ่นชื้น เมืองสำคัญได้แก่ ซิดนีย์ เมลเบิร์น บริสเบน ส่วนภาคกลาง และภาคตะวันตก ประชากรเบาบางเพราะเป็นเขตแห้งแล้ง และทะเลทราย
ประชากรในประเทศออสเตรเลียมีประมาณ 20,948,900 คน พ.ศ. 2550 มีความหนาแน่น 2.65/ตารางกิโลเมตร (http://th.wikipedia.org/wiki/)
2.3 ประชากรในประเทศนิวซีแลนด์
ชาวผิวขาว เชื้อสายอังกฤษ
ชาวพื้นเมืองดั้งเดิมได้แก่เมารี
ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในเมืองมากกว่าในชนบท และอาศัยอยู่ในเกาะเหนือเพราะมีอากาศอบอุ่นสบายและความชื้นกระจายไปทั่วเกาะ เมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือ โอ๊คแลนด์ รองลงมาคือเวลลิงตัน ไครส์เชิร์ช
ประชากรในประเทศนิวซีแลนด์ปัจจุบันมีประมาณ 4,173,460 คน (กรกฎาคม 2008 est.)
2.4 การกระจายตัวและความหนาแน่นของประชากร
ประชากร ออสเตรเลียมีประชากรประมาณ 27 ล้านคน เฉลี่ยความหนาแน่นประมาณ 2.4 คนต่อตารางกิโลเมตร บริเวณที่มีประชากรหนาแน่นอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้และทางใต้ของประเทศ ส่วนบริเวณที่มีประชากรเบาบาง ได้แก่บริเวณตอนกลางของประเทศ เพราะมีอากาศแห้งแล้งเป็นกึ่งทะเลทรายและทะเลทราย

2.5 เมืองสำคัญ

1. New South Wales (NSW)
รัฐ New South Wales มีเมืองหลวง คือ ซิดนีย์ (Sydney) รัฐนี้มีประชากรหนาแน่นมากที่สุด มีชาวไทยและนักศึกษาไทยมากที่สุดด้วย เป็นรัฐที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมมากที่สุดในออสเตรเลีย ซิดนีย์เป็นเมืองที่คึกคัก เต็มไปด้วยสีสัน มีชีวิตชีวาอยู่ตลอดเวลา

2. Victoria (VIC)
รัฐ Victoria มีเมืองหลวง คือ เมลเบิร์น (Melbourne) รัฐนี้มีอีกชื่อว่า Garden State เนื่องจากมีสวนสาธารณะมากว่ารัฐอื่น มีประชากรอยู่มากเป็นอันดับสอง รวมทั้งเป็นเมืองที่นักศึกษาไทยไปศึกษามากเป็นอันดับสองรองจากซิดนีย์ เป็นเมืองเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสอง เป็นศูนย์กลางด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมแห่งหนึ่งของประเทศออสเตรเลีย

3. Queensland (QLD)
รัฐ Queensland มีเมืองหลวง คือ บริสเบน (Brisbane) ควีนแลนด์ หรือ รัฐแห่งแสงแดด (Sunshine State) เป็นรัฐแห่งการท่องเที่ยวและมีแสงแดดอบอุ่นตลอดทั้งปี มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสอง มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับสามของประเทศ มีหาดทรายขาวสะอาด ป่าดงดิบและป่าชื้นเขตร้อนที่อุดมสมบูรณ์

4. Western Australia (WA)
รัฐ Western Australia มีเมืองหลวง คือ เพิร์ธ (Perth) ออสเตรเลียตะวันตกเป็นรัฐที่มีพื้นที่มากที่สุด กินเนื้อที่เกือบ 1 ใน 3 ของประเทศ มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 12,500 กิโลเมตร อาชีพสำคัญของประชากร คือ การทำประมงและทำเหมืองแร่ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งผลิตเพชรได้มากเป็นอันดับสามของโลก เพิร์ธเป็นเมืองสะอาด สวยงามและอยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด

5. South Australia (SA)
รัฐ South Australia มีเมืองหลวง คือ แอดดิเลด (Adelaide) ออสเตรเลียใต้ ได้ชื่อว่าเป็น เมืองแห่งเทศกาล (Festival State) รวมทั้งเป็นเมืองหลวงแห่งวัฒนธรรม มีโบสถ์เก่าแก่และโบราณสถานจำนวนมาก มีผังเมืองที่ดี และมีสวนสาธารณะร่มรื่น ทางตอนเหนือของรัฐพรั่งพร้อมไปด้วยธรรมชาติ เป็นแหล่งผลิตเหล้าองุ่นได้มากกว่าร้อยละ 30 ของเหล้าองุ่นของออสเตรเลียทั้งหมด

6. Tasmania (TAS)
รัฐ Tasmania มีเมืองหลวง คือ โฮบาร์ต (Hobart) แทสเมเนียเป็นรัฐที่เล็กที่สุด ลักษณะเป็นเกาะ มีอากาศหนาวที่สุด สภาพภูมิประเทศเป็นหุบเขา และที่ราบสูง ทิวทัศน์สวยงามยิ่ง เนื่องจากถูกล้อมด้วยมหาสมุทรด้านใต้ ทะเลแทสเมเนีย และช่องแคบ Bass Strait สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของเกาะจึงสะอาดสดชื่น อากาศที่นี่ปราศจากมลภาวะและถือได้ว่าสะอาดที่สุดในโลก

5 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ18 กรกฎาคม 2554 เวลา 17:25

    น่าจะมีภาพประกอบบ้างน่ะ......................

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ15 กันยายน 2558 เวลา 19:03

    ผมว่าควรปรับตัวอักษรให้น่าสนใจบ้างก็ดีนะครับ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ22 ธันวาคม 2558 เวลา 21:00

    เนื่อหาละเอียดเยอะและเข้าใจง่ายกว่าเว็บอื่นที่ไปเจอนะครับ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ26 สิงหาคม 2559 เวลา 13:03

    เขียนห่างออกจากกันหน่อยก็ดีนะค่ะ

    ตอบลบ
  5. เนื้อหาละเอียดดีค่ะแต่ตัวอักษรติดกันมากเกินไปทำให้อ่านยากนิดหน่อยค่ะ

    ตอบลบ